นักวิทย์ ค้นพบสารในฟันมนุษย์นอก กาแล็กซี ห่างออกไป 1.2 หมื่นล้านปีแสง
นักวิทยาศาสตร์ เพิ่งค้นพบสารฟลูออรีน ซึ่งพบได้ในฟลูออไรด์ของฟันมนุษย์บน กาแล็กซี เป็นครั้งแรก ห่างจากโลกของพวกเราออกไปกว่า 1.2 หมื่นล้านปีแสง คำถามที่สำคัญก็คือ แล้วสารในฟันมนุษย์เหล่านี้ ไปอยู่นอกโลกของเราที่แสนห่างไกลได้อย่างไร
ฟลูออรีน เป็นสารที่ถูกพบในฟลูออไรด์ของฟัน และกระดูกของมนุษย์ เรายังสามารถพบมันได้ทั่วไปในยาสีฟันที่วางขายตามท้องตลาด รวมถึงกาแล็กซีนอกโลก ที่อยู่ห่างออกไปจากเรากว่า 1.2 หมื่นล้านปีแสง (ประมาณ 1.14 แสนล้านล้านล้านกิโลเมตร)
ฟลูออรีนเหล่านี้ถูกค้นพบอยู่ในระบบสุริยะ จากการใช้กล้องโทรทรรศน์อาตากามา ในประเทศชิลี ส่องออกไป โดยมันอยู่ในรูปแบบของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ในเมฆก๊าซ ของกาแล็กซี NGP-190387 ทั้งนี้ จากระยะปีแสงนั้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์พบว่า ฟลูออรีนในกาแล็กซี NGP-190387 อยู่ห่างจากโลกมนุษย์ของเรากว่า 1.2 หมื่นล้านปีแสง โดยขณะที่นักวิทยาศาสตร์เห็นกาแล็กซีดังกล่าว จักรวาลเพิ่งจะมีอายุได้เพียง 1.4 พันล้านปีเท่านั้น
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเฮิร์ตฟอร์ดเชียร์ ในสหราชอาณาจักร ผู้ค้นพบฟลูออรีนในกาแล็กซีครั้งนี้คาดการณ์ว่า ดาวที่ปล่อยฟลูออรีนไปทั่วจักรวาล น่าจะเป็นดาวที่มีอายุขัยไม่นาน โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่า ดาว Wolf-Rayet อาจจะเป็นแหล่งกำเนิดของสารในฟันมนุษย์นอกโลก
ดาวฤกษ์เหล่านี้มีขนาดใหญ่ แต่กลับมีอายุขัยเพียงแค่ไม่กี่ล้านปีเท่านั้น แตกต่างจากจักรวาลของเรา ที่มีอายุมา 1.3 หมื่นล้านปี มันมีดาวยักษ์ไม่กี่ดวงเท่านั้น ที่จะสามารถพัฒนาตัวเองจนมีลักษณะคล้าย Wolf-Rayet เมื่อพวกมันเข้าใกล้อายุขัย ซึ่งอาศัยระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่แสนปี ก่อนที่ัมันจะระเบิดฟลูออรีนออกมา โดยมันมีเพียงดาวแค่ 1 ใน 100 ล้านดวง ที่จะมีมวลมากพอ จนพัฒนาตัวเองให้กลายเป็น Wolf-Rayet ได้
ปรากฏการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อหลายพันล้านปีก่อน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยังอธิบายไม่ได้มากว่า ฟลูออรีนเหล่านั้นไปอยู่นอกโลกอันไกลโพ้นได้อย่างไร เพราะกว่าเราจะเห็นมันด้วยดวงตา ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ปรากฏการณ์เหล่านั้นก็จบลงไปหลายพันล้านปีแล้ว แต่ที่แน่ๆ ก็คือ มันอาจช่วยยืนยันได้ว่า ฟลูออรีนเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ในช่วงต้นการกำเนิดจักรวาล และชีวิตของเรา
.
ที่มา : thematter.co/brief/159636/159636