นักโบราณคดีค้นพบ โรงกษาปณ์ ที่คาดว่าเก่าแก่ที่สุดในโลกที่จีน
นักโบราณคดี ขุดค้นซากปรักหักพังในกวนชวง (Guanzhuang) เมืองโบราณในทางตะวันออกของมณฑลเหอหนาน พวกเขาค้นพบสิ่งที่เชื่อว่าเป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีขนาดเล็ก เป็นเหรียญสัมฤทธิ์ รูปร่างเหมือนพลั่วซึ่งมีการผลิตเป็นจำนวนมากเมื่อ 2600 ปีที่แล้ว ผลิตใน โรงกษาปณ์ ของเมืองโบราณแห่งนี้
งานวิจัยของเขาที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Antiquity ได้ให้น้ำหนักกับความที่ว่าเหรียญชนิดแรกของโลกไม่ได้ผลิตขึ้นในตุรกีหรือกรีซดังที่เชื่อมาอย่างยาวนาน แต่เป็นที่จีน
เมืองที่ล้อมรอบไปด้วยกำแพงและคูเมืองอย่างกวนชวงนั้นก่อตั้งในช่วง 899 ปีก่อนคริสตกาล และโรงหล่อของเมือง สถานที่ที่โลหะสัมฤทธิ์นั้นถูกหลอมและตีเป็นภาชนะ อาวุธ และเครื่องมือต่างๆ เปิดทำการในช่วง 770 ปีก่อนคริสตกาล ตามคำกล่าวของ Hao Zhao นักโบราณคดีที่มหาวิทยาลัยเจิ้งโจว และผู้นำในงานศึกษาวิจัยนี้ แต่ยังไม่ใช่สถานที่ที่คนงานเริ่มผลิตเหรียญกษาปณ์ที่บริเวณนอกประตูเมืองชั้นในในปี 150 ปีถัดมา
จากการตรวจสอบอายุด้วยการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating) ทีมงานศึกษาพบว่าโรงกษาปณ์นั้นเริ่มดำเนินงานในช่วง 640 และไม่เกินช่วง 550 ก่อนคริสตกาล ในขณะที่งานวิจัยอื่นๆ ได้ระบุอายุของเหรียญจากอาณาจักรลีเดีย ซึ่งปัจจุบันคือประเทศตุรกีอยู่ที่ต้น 630 ปีก่อนคริสตกาล Zhao ระบุว่าโรงกษาปณ์ที่เก่าแก่ผลิตเหรียญในอาณาจักรลีเดียนั้นมีอายุอยู่ในช่วง 575 – 550 ปีก่อนคริสตกาล
.
ที่มา : ngthai.com/history/37705/worldoldestcoinfactorydiscoveredinchina