95% ของพื้นผิว มหาสมุทร ของโลกกำลังจะเปลี่ยนไปในทางที่เลวร้าย
จากการวิจัยที่เผยแพร่ไม่นานมานี้ ระบุว่าพื้นผิว มหาสมุทร ของโลกมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์จะมีการเปลี่ยนแปลงภายในสิ้นศตวรรษนี้ เว้นแต่มนุษยชาติจะควบคุมการปล่อยคาร์บอน
.
ทะเลของโลกดูดซับมลพิษคาร์บอนประมาณหนึ่งในสามทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ด้วยระดับ CO2 ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในช่วงอย่างน้อย 3 ล้านปี จึงเกิดความกลัวว่าสภาพอากาศที่ผิวมหาสมุทรอาจเป็นมิตรกับสัตว์น้ำน้อยลง
.
นักวิจัยในสหรัฐฯ ต้องการดูว่ามลภาวะคาร์บอนมีผลกระทบต่อพื้นผิวมหาสมุทรอย่างไรตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 18 พวกเขายังคาดการณ์ผลกระทบของการปล่อยมลพิษจนถึงปี 2100
.
พวกเขาได้จำลอง สภาพอากาศ ในมหาสมุทรทั่วโลกในสามช่วงเวลา ได้แก่ ต้นศตวรรษที่ 19 (1795-1834); ปลายศตวรรษที่ 20 (2508-2547); และปลายศตวรรษที่ 21 (2065-2014)
.
จากนั้นพวกเขาจึงดำเนินการแบบจำลองผ่านสองสถานการณ์การปล่อยมลพิษ สถานการณ์แรก เรียกว่า RCP4.5 ซึ่งคาดว่าจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดภายในปี 2050 ตามมาด้วยการลดลงอย่างช้าๆ ตลอดช่วงที่เหลือของศตวรรษ กับสถานการณ์ที่สอง คือ RCP8.5 เป็นแนวทาง “ตามปกติ” ซึ่งการปล่อยมลพิษยังคงเพิ่มขึ้นตลอด 80 ปีข้างหน้า
.
นักวิจัยพบว่าภายใต้สถานการณ์จำลอง RCP4.5 36 เปอร์เซ็นต์ของสภาพพื้นผิวมหาสมุทรที่มีอยู่ตลอดศตวรรษที่ 20 มีแนวโน้มที่จะหายไปภายในปี 2100 โดยภายใต้สถานการณ์การปล่อยมลพิษสูง ตัวเลขดังกล่าวอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว
.
ทีมงานยังพบว่าแม้สภาพอากาศที่พื้นผิวมหาสมุทรจะมีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในช่วงศตวรรษที่ 20 ภายในปี 2100 พื้นผิวมหาสมุทรมากถึง 82 เปอร์เซ็นต์อาจประสบกับสภาพอากาศที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ ซึ่งรวมถึงทะเลที่ร้อนกว่า เป็นกรดมากกว่า และมีแร่ธาตุน้อยกว่าที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในทะเล
.
Katie Lotterhos หัวหน้าทีมวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลของมหาวิทยาลัย Northeastern กล่าวว่าองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงของมหาสมุทรอันเนื่องมาจากมลภาวะคาร์บอนน่าจะส่งผลกระทบต่อทุกสัตว์ทุกสายพันธุ์ในอนาคต
.
ที่มา : https://www.sciencealert.com/oceans-in-2100-will-be-hotter-more-acidic-and-more-hostile-for-sea-life